ประวัติมวยไชยา (Muay Chaiya) ศาสตร์แห่งสยาม

mythical dragon beast anime style (Web H)

มวยไทยไชยา จากหลักฐานและคำบอกเล่านั้นเริ่มต้นที่พ่อท่านมา ไม่มีใครทราบว่าท่านมีชื่อจริงว่าอย่างไร ทราบแต่เพียงว่าท่านเป็นครูมวยใหญ่ จากพระนคร บ้างก็ว่าท่านเป็นขุนศึก แม่ทัพแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวเมืองจึงเรียกเพียงว่าพ่อท่านมา ท่านได้เดินทางมาที่เมืองไชยา และได้ถ่ายทอดวิชาการต่อสู้ไว้ให้แก่ชาวเมือง และศิษย์ที่ทำให้มวยเมืองไชยาเป็นที่รู้จักมากที่สุดในยุค ร.5 คือ พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย)

ปรมาจารย์ เขตร ศรียาภัย เคยกล่าวไว้ว่า ท่าย่างสามขุม ของหลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร) อาจารย์โรงเรียนสวนกุหลาบฯ พ.ศ2464 (ซึ่งเป็นศิษย์เอกของ ปรมาจารย์ พระไชยโชคชกชนะ (อ้น) เจ้ากรมทนายเลือกครูมวยและครูกระบี่กระบองผู้กระเดื่องนาม ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5) และปรมาจารย์ ขุนยี่สานสรรพยากร (ครูแสงดาบ) ครูมวยและครูกระบี่กระบอง ลือชื่อ ในสมัย ร.6 นั้นมีความกระชับรัดกุม ตรงตามแบบท่าย่างสามขุมของท่านมา (หลวงพ่อ) ครูมวยแห่งเมืองไชยา ท่านนับเป็นต้นสายของมวยไชยา มรดกอันล้ำค่าของคนไทย

สมัยรัชกาลที่ 5 ในงานพระเมรุ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ณ ท้องทุ่งพระเมรุป้อมเผด็จดัสกร กรุงเทพฯ ได้จัดให้มีการตีมวยหน้าพระที่นั่งครั้งใหญ่ เจ้าเมืองจากหัวเมือต่างๆได้จัดส่งนักมวยของตนลงแข่งขัน และได้มีนักมวยฝีมือดีอยู่ 3 คน ที่ได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หมื่น” อันได้แก่

  1. หมื่นมวยมีชื่อ (ปล่อง จำนงทอง) มวยไชยา – ถนัดใช้ท่า เสือลากหาง เข้าทุ่มทับจับหักคู่ปรปักษ์
  2. หมื่นมือแม่นหมัด (กลิ้ง ไม่ทราบนามสกุล) มวยลพบุรี – ถนัดใช้หมัดตรง และหลบหลีก รุกรับ ว่องไว
  3. หมื่นชะงัดเชิงชก (แดง ไทยประเสริฐ) มวยโคราช – ถนัดใช้ท่า หมัดเหวี่ยงควาย ที่รุนแรง คว่ำปรปักษ์

จน มีคำกล่าวผูกเป็นกลอนว่า “หมัดดีโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา” จะเห็นได้ว่าผู้ที่เป็นนักมวยในสมัยนั้น ได้รับการยกย่องมาก เพราะบ้านเมืองสนับสนุน และเมืองที่มีมวยฝีมือดีก็จะได้รับการยกย่องให้เป็น “เมืองมวย” มวยไชยา นั้นเป็นที่นิยมแพร่หลาย ในเขตภาคใต้ตั้งแต่ ชุมพร หลังสวน ลงมาโดยมีเมืองไชยาเป็นศูนย์กลาง นอกจากนี้ยังมีครูมวยหลายท่านที่มีชื่อเสียงอีกมากมาย

ศิลปะการต่อสู้ประจำชาติของไทยคือมวยไทย แต่นักมวยที่รู้จักมวยไทยแท้จริงนั้นมีไม่น้อยเลยทีเดียว ต้องนึกถึงนักมวยที่มีรูปร่างแข็งแรงและแข็งแกร่งที่สุดที่ชื่อดังอย่างลุมพินี และราชดำเนิน สนามมวยชื่อดัง เมื่อสองคนเข้ารังต่อสู้กัน พวกเขาใช้เทคนิคการต่อสู้และกำลังที่สูงสุดในการแลกกันให้เจ็บทั้งคู่ มวยไทยไชยาเป็นหนึ่งในสาขาของมวยไทยที่แสดงออกถึงความเข้มแข็งอย่างชัดเจน

“มวยไทยไชยา” หรือ “พาหุยุทธ์มวยไทยไชยา” ปัจจุบันเป็นสิ่งที่ยากที่จะหาชมได้ แต่มีสถานที่หนึ่งที่ให้การฝึกสอนวิชามวยไทยให้กับประชาชนทั่วไปเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมไทยแท้ในรูปแบบที่คนไทยส่วนใหญ่เคยเห็นแต่ในหนังสือหรือภาพยนต์

อาจารย์ณปภพ ประมวญ หรือ “ครูแปรง” เป็นผู้สืบทอดวิชามวยไทยไชยาจากบูรพาจารย์ที่สืบสายวิชามวยที่ถูกลืมไปตั้งแต่มีกาที่มวย คาดเชือกถูกระงับการแข่งขันให้เปลี่ยนไปใช้กติกาอิงสากล ลูกไม้กลมวยและอื่นๆก็สูญหายไปมาก

ครูแปรงเป็นศิษย์ติดตามใกล้ชิดของ ครูทอง เชื้อไชยา ผู้สืบทอดวิชามวยไทยไชยานี้มาจากปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย (ปรมาจารย์คนสุดท้ายของวงการมวยไทย) ซึ่งได้เรียนวิชาจากพระยาวจี สัตยรักษ์เจ้าเมืองไชยาผู้เป็นพ่อ รวมทั้งได้เรียนวิชามวยโบราณจากครูอีก 13 ท่านจนแตกฉาน

วิชามวยไทยไชยานี้ นอกจากมือเท้าเข่าศอกที่เห็นได้ทั่วไปในมวยไทยกระแสหลักแล้วยังมีวิชาที่ถูกลืมอย่างการ “ทุ่ม ทับ จับ หัก” ซึ่งมีความร้ายกาจไม่แพ้วิชาการ ทุ่ม การล๊อคของศิลปะการต่อสู้อื่น หลักมวยอื่นๆ ยังมีที่เป็นคำคล้องจองแต่มีความหมายลึกซึ้งทุกคำ เช่น “ล่อ หลอก หลบ หลีก หลอกล่อ ล้อเล่น” หรือ “กอด รัด ฟัด เหวี่ยง” ซึ่งเป็นวิชาการกอดปล้ำแบบหนึ่งซึ่งหาไม่ได้แล้วในมวยไทยสมัยปัจจุบัน หรือแม้กระทั่ง “ล้ม ลุก คลุก คลาน” ซึ่งเป็นการฝึกม้วนตัว ล้มตัว

การต่อสู้ของมวยโบราณอย่างมวยไทยไชยานั้นจึงไม่จำกัดเฉพาะการยืนต่อสู้เท่านั้น การต่อสู้เมื่อจำเป็นต้องล้มลงก็ทำได้ และด้วยพื้นฐานของมวยไทยโบราณที่ถูกสร้างให้ใช้ในการศึกสงคราม การต่อสู้กับศัตรูพร้อมกันหลายคนนั้นเป็นอีกมิติหนึ่งที่ทำให้มวยไทยไชยาเป็นมวยที่ร้ายกาจ

การเรียนการสอนของมวยไทยไชยานั้นจะเป็นระเบียบระบบแบบโบราณ นักเรียนจะได้เรียนตั้งแต่พื้นฐานวิชาเรียนการป้องกันตัว “ป้อง ปัด ปิด เปิด” จนสามารถป้องกันการโจมตีได้อย่างมั่นใจแล้ว ลูกไม้มวยไทยต่างๆ ก็จะค่อยได้เรียนรู้ แตกต่างจากมวยไทยกระแสหลักที่ฝึกฝนการโจมตี เตะ ต่อย ทำลาย โดยอาศัยความทนทานเข้ารับลูกเตะต่อยของคู่ต่อสู้ ดั่งที่ครูแห่งมวยไทยไชยานี้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า ศิลปะการป้องกันตัวย่อมต้องป้องกันตัวได้จริง ไม่ใช้ศิลปะการแลกกันว่าใครจะทนกว่ากันก็จะเป็นผู้ชนะไป

ด้วยภูมิปัญหาของครูมวยโบราณที่สั่งสอนไม่สมบูรณ์และต้องการการแก้ไขและปรับปรุง วิชามวยไทยดั้งเดิมนั้นกลายเป็นมวยที่ร้ายกาจด้วยการใช้กลเม็ดลูกไม้และไม้เด็ดหลากหลาย กลมวยสามารถแตกขยายไปได้เสมือนไม่มีที่สิ้นสุด ในทางกลับกันการสั่งสอนวิชาที่ร้ายกาจนี้ก็ได้ฝึกฝนให้นักเรียนเป็นคนอดทน มุ่งมั่น ใจเย็น สุขุม จนในท้ายที่สุดวิชามวยแห่งการต่อสู้เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนานักเรียนให้เป็นคนดีของสังคม ที่มีสติควบคุมกายให้ประพฤติตนดี และมีครูสอนสั่ง

ครูแปรงได้วางแผนการสอนวิชาอาวุธที่เกี่ยวข้องกับมวยไทยไชยาที่รู้จักกันในชื่อ “วิชากระบี่กระบอง” ซึ่งมีวิชาเรียนดาบสองมือ มีดสั้น พลองยาว ไม้ศอก รวมถึงอาวุธไทยโบราณอื่นๆที่ไม่น่าจะหาเรียนได้ง่ายๆ เพื่อให้ครบหลักสูตรวิชาการต่อสู้และป้องกันตัวของไทยโดยแท้

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

mythical dragon beast anime style (Web H)
มารู้จักกับ “ไอคิโด” ศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่น
ไอกิโด (ญี่ปุ่น: 合気道; โรมาจิ: Aikidō; ikedo) เป็นศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่นสมัยใหม่พัฒนาโดยโมะริเฮอิ อุเอ...
mythical dragon beast anime style (Web H)
21 สุดยอดคำคมของ "บรูซ ลี (Bruce Lee)" ที่จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับจิตใจคุณ
บรูซ ลี (Bruce Lee) อดีตนักแสดงภาพยนต์ชาวจีน ฉายา “ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง” ผู้เป็นตำนานหนังบู๊ร...
mythical dragon beast anime style (Web H)
โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ (Taifudo Academy)
โรงเรียนศิลปศาสตร์การป้องกันตัวไทยหัตถยุทธ (รับรองหลักสูตรโดยกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นโรงเรียนสอนการป้...
mythical dragon beast anime style (Web H)
ยูโด (Judo)
ยูโด (ญี่ปุ่น: 柔道; โรมาจิ: jūdō จูโด) เป็นศิลปะการป้องกันตัวประเภทหนึ่งที่ถือกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ...
mythical dragon beast anime style (Web H)
ประวัติมวยไชยา (Muay Chaiya) ศาสตร์แห่งสยาม
มวยไทยไชยา จากหลักฐานและคำบอกเล่านั้นเริ่มต้นที่พ่อท่านมา ไม่มีใครทราบว่าท่านมีชื่อจริงว่าอย่างไร ทร...
mythical dragon beast anime style (Web H)
ศิลปะการต่อสู้ของจีน (Chinese martial arts) หรือ กังฟู (kung Fu)
ศิลปะการต่อสู้เป็นส่วนสำคัญและเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในประเทศจีน มีประวัติศาสตร์ยาวนานและเป็นส่วน...